อาร์ม พิพัฒน์ อาลัย ทมยันตี สิ่งที่เรียนคุณหญิงไว้ ตนจะทำให้ได้

อาร์ม พิพัฒน์ อาลัย ทมยันตี สิ่งที่เรียนคุณหญิงไว้ ตนจะทำให้ได้

พิธีกรหนุ่ม ‘อาร์ม พิพัฒน์’ โพสต์อาลัย ‘ทมยันตี’ หลังจากไปอย่างสงบในวัย 85 ปี เผย สิ่งที่เรียนคุณหญิงไว้ วันหนึ่งตนจะทำให้ได้ อาร์มอาลัยทมยันตี – จากกรณีข่าวการเสียชีวิตของ ‘คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์’ นักเขียนชื่อดังเจ้าของนามปากกา ‘ทมยันตี’ ที่จากไปอย่างสงบในวัย 85 ปี เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา

ล่าสุด (13 ก.ย.) ทางพิธีกรหนุ่ม ‘อาร์ม พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์’ 

ก็ได้ออกมาโพสต์ภาพผ่านทางอินสตาแกรมส่วนตัว โดยเป็นภาพวาดของทมยันตี พร้อมแนบแคปชั่นอาลัย เผย สิ่งที่เรียนคุณหญิงไว้ วันหนึ่งตนจะทำให้ได้ โดยระบุว่า “ผมมีโอกาสได้ร่วมงานกับคุณหญิงทุกปี อย่างต่อเนื่องกันมาถึง 7 ปี กับโครงการ จินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช ทุกครั้งที่ได้เจอ ทุกปีที่ได้คุยกับคุณหญิง ผมไม่กล้าบอกคุณหญิงว่า …

ผมอ่านวรรณกรรมของคุณหญิงหลายเรื่องมาก … ด้วยความที่ว่า แต่ก่อนอยู่ต่างจังหวัด เวลาไปเช่าการ์ตูนอ่าน พี่สาวก็จะเช่านิยายของนักเขียนดังๆ มาอ่านด้วยกัน พอผมอ่านการ์ตูนจบ ว่างๆ ก็…เอาวะ หยิบมาอ่านหน่อยสิ ทำไม เล่มก็หนาๆ สนุกตรงไหน?!?

อ่านไปอ่านมา กลายเป็นผมรอคอยที่จะอ่านเรื่องต่างๆ ต่อจากพี่สาว จนถึงขั้นบางครั้ง รีบชิงอ่านก่อน เพราะถ้าเริ่มแล้วมันยาวววว 555 จะเป็นเรื่อง ดั่งดวงหฤทัย คู่กรรม ทวิภพ เงา รอยอินทร์ … ฯลฯ คือ แบบว่า แฟนคลับเลยละครับ #ทมยันตี

และสุดท้าย ผมจำได้ว่าผมได้บอกสิ่งที่ผมตั้งใจบางอย่างกับคุณหญิง และ เฝ้ารอที่จะทำตามฝันนั้นนะครับ.. ขอบพระคุณมากๆนะครับ ที่สร้างสรรค์ผลงานดีๆ มากมาย ที่ทำให้คนไทย และเด็กตัวเล็กๆ คนนึงอย่างผม ได้มีวรรณกรรมดีๆ อ่าน

สุดท้ายนี้ผมนึกถึงคำคม หรือที่เค้าเรียกกันแบบคนสมัยก่อนว่า #วรรคทอง ของนิยายแต่ละเรื่อง… ประโยคจากบทละครมากมายที่ตรึงอยู่ในความทรงจำ…

“โปรดไปรอ ที่ตรงโน้นบนท้องฟ้า ท่ามกลางดวงดาราในสวรรค์ ข้ามขอบฟ้าดาวระยับนับอนันต์ จะไปหาคุณบนนั้น ฉันสัญญา…..”

จากบทประพันธ์ เรื่อง #คู่กรรม ขอร่วมอาลัยรักกับการจากไป ของยอดนักเขียนแห่งยุค #ทมยันตี เพื่อนๆ พี่ๆ นึกถึงวรรณกรรมเรื่องใดของคุณหญิงบ้างครับ … ด้วยรักและอาลัย อาร์ม พิพัฒน์ & น้ำฝน พัชรินทร์ ปล. สิ่งที่ผมเรียนคุณหญิงไว้ วันหนึ่งผมจะทำให้ได้นะครับ”

ย้อนประวัติ ทมยันตี นักเขียนดังผู้มีส่วนขับเคลื่อนสังคมในอดีต

ย้อน ประวัติ ‘คุณหญิงวิมล’ หรือ ‘ทมยันตี’ นักเขียนชื่อดัง ดีกรีศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ปี พ.ศ. 2555 ผู้มีส่วนขับเคลื่อนสังคมในอดีต ประวัติทมยันตี – คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ชื่อเล่น อี๊ด เจ้าของนามปากกา ‘ทมยันตี’ เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) เป็นลูกสาวคนกลางของคุณพ่อ ‘ทองคำ ศิริไพบูลย์’ ที่เป็นทหารเรือ และคุณแม่ ‘ไข่มุก ศิริไพบูลย์’ เป็นชาววัง

จบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษาจาก ‘โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์’ จากนั้นก็ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ‘คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ ก่อนที่จะซิ่วมาศึกษาใน ‘คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’

ขณะที่เรียนเธอได้เป็นหนึ่งในนักโต้วาทีของมหาวิทยาลัย ร่วมกับ ‘สมัคร สุนทรเวช’ และ ‘ชวน หลีกภัย’ ก่อนที่จะตัดสินใจทื้งใบปริญญาในปีที่ 3 แล้วไปสมัครเป็นครูสอนภาษาไทยและประวัติศาสตร์อยู่ที่ ‘โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์’ พร้อมกับเขียนหนังสือร่วมไปด้วย

เธอเริ่มเขียนเรื่องสั้นเป็นครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 14 ปี จนได้ตีพิมพ์กับทางนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ และได้เขียนต่อเนื่องมานานกว่า 11 ปี ในขณะที่เธอเริ่มเขียนเรื่องยาวเรื่องแรกคือ ‘ในฝัน’ เมื่ออายุ 19 ปี โดยใช้นามปากกา ‘โรสลาเรน’ พร้อมทั้งได้ตีพิมพ์กับทางศรีสัปดาห์เช่นเคย

ทมยันตี ขึ้นชื่อว่ามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับฝ่ายทหารและจะมักสนับสนุนระบอบทหาร โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ทมยันตีมีบทบาทเป็นแกนนำสำคัญของชมรมแม่บ้าน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของภรรยาข้าราชการ ภรรยานายพล และแม่บ้าน

ผ่านการเป็นผู้จัดรายการวิทยุ ‘ยานเกราะ’ หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการสังหารหมู่นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังเคยขึ้นปราศรัยเพื่อโจมตีขบวนการนักศึกษาที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยว่า เป็นผู้บ่อนทำลายมิตรประเทศ

จนเธอได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลทหารให้มาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน, ในปีถัดมา เธอก็ได้เลื่อนขั้นเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ปี พ.ศ. 2522 เป็นสมาชิกวุฒิสภา และปี พ.ศ. 2527 เธอได้ขึ้นเป็นผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

คุณหญิงวิมล มีนามปากกาทั้งหมด 6 ชื่อ ได้แก่ โรสลาเรน, ลักษณวดี, กนกเรขา, ทมยันตี, มายาวดี และ วิม-ลา เจ้าของบทประพันธ์ คู่กรรม, ทวิภพ, ค่าของคน, อุบัติเหตุ, ดาวเรือง, ล่า, เวียงกุมกาม, นากพัทธ์, พิษสวาท, ดั่งดวงหฤทัย, คำมั่นสัญญา, พี่เลี้ยง, เลือดขัตติยา, ใบไม้ที่ปลิดปลิว, ฯลฯ จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ปี พ.ศ. 2555

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> แทงบอล ufabet